(662) 964 4912-4

(662) 964 4915

สายพันธุ์สุกร
20/11/2012
การเลี้ยงสุกร
22/11/2012


ข้อมูล : เราทุ่มเทเพื่อจัดการภายใต้มาตรฐานคุณภาพสูง GMP, HACCP และ ISO 9001:2015

ข้อมูล : เราทุ่มเทเพื่อจัดการภายใต้มาตรฐานคุณภาพสูง GMP, HACCP และ ISO 9001:2015

สารพิษในอาหารสัตว์

สารพิษในอาหารสัตว์ แบ่งได้เป็น 2 พวก คือ
1.สารพิษที่เกิดในพืชโดยธรรมชาติ เมื่อสัตว์กินเข้าไปแล้วนอกจากสัตว์จะใช้ประโยชน์ไม่ได้แล้วยังเป็นโทษต่อสัตว์ โดยอาจจะเกิดจากการที่สารเหล่านี้ไปขัดขวางการใช้ประโยชน์ของสารอาหารต่างๆ หรือเกิดจากการสะสมของสารเหล่านี้ในปริมาณมากในร่างกายสัตว์จนเป็นพิษต่อสัตว์ เป็นต้น สารพิษเหล่านี้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่สภาพแวดล้อมหรือการจัดการมีส่วนทำให้พืชชนิดเดียวกันและมีอายุเท่ากัน จะมีปริมาณสารพิษต่างกันได้ เช่นปริมาณปุ๋ยที่ใช้ ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ฯลฯ

2.สารพิษที่เกิดจากสาเหตุภายนอก เช่นเกิดจากจุลินทรีย์ หรือยาฆ่าแมลง โดยการปนเปื้อนมาในขั้นตอนการผลิต หรือการเก็บรักษา

สารพิษที่เกิดในพืชโดยธรรมชาติ
1. กรดไฮโดรไซยานิค (Hydrocyanic acid)
กรดไฮโดรโดรไซยานิค หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กรดพลัสสิค (Prussic acid) พบในพืชบางชนิดโดยจะมีปริมาณกรดไฮโดรไซยานิคสูงสุดในระยะเริ่มแรกของการเจริญเติบโต และจะลดลงเมื่อพืชเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ปัจจัยอื่นๆ เช่น ความเข้มข้นของปริมาณแร่ธาตุในดิน มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณกรดไฮโดรไซยานิคเช่นเดียวกัน พืชที่ขึ้นในดินที่อุดมสมบูรณ์ จะมีกรดไฮโดรไซยานิคสูงกว่าในดินที่ไม่อุดมสมบูรณ์ และในพืชต้นเดียวกันส่วนยอดจะมีปริมาณกรดไฮโดรไซยานิคสูงสุด รองลงมาคือ ใบ ต้น ราก ก้านใบ หัว และเปลือกตามลำดับ น้อยที่สุดได้แก่ส่วนต้นและกิ่ง พืชอาหารสัตว์ที่พบว่ามีกรดไฮโดรไซยานิคในระดับสูง ได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าวฟ่าง หญ้าจอห์สัน หญ้าซอกั้ม หญ้าเพ็ก หญ้าซูแด๊กซ์ เป็นต้น

อาการของสัตว์ที่เกิดจากสารพิษของกรดไฮโดรไซยานิค คือ กล้ามเนื้อขาดออกซิเจนทำให้หายใจขัด ตัวสั่น ชักกระตุก และอาจถึงตายได้ในรายที่รุนแรง จะแสดงอาการภายใน 10-15 นาที และตายภายใน 2-3 นาที หลังจากแสดงอาการ ระดับต่ำสุดของกรดไฮโดรไซยานิคที่สามารถทำให้เกิดความเป็นพิษต่อสัตว์ คือ 2.315 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และถ้าสัตว์ได้รับปริมาณกรดไฮโดรไซยานิค 4 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม จะทำให้เกิดพิษรุนแรงต่อสัตว์ และอาจทำให้สัตว์ตายได้

2.ไนเตรท-ไนโตรเจน (Nitrate-Nitrogen)
ไนเตรท เป็นสารที่สะสมอยู่ในลำต้นและใบของพืชหลายชนิด ซึ่งบางชนิดอาจจะมีปริมาณสูงมากพอที่จะทำให้เกิดการเป็นพิษขึ้นได้ เมื่อสัตว์กินพืชชนิดนั้นๆเข้าไปในปริมาณมาก พืชอาหารสัตว์ที่พบว่ามีไนเตรทสูง ได้แก่ ข้าวฟ่าง เถามันเทศ ผักโขม ไมยราบไร้หนาม ทองหลางใบมน และข้าวโอ๊ด เป็นต้น

อาการของสัตว์ที่เกิดจากสารพิษของไนเตรท – ไนโตรเจน พืชที่มีปริมาณไนเตรทในรูปไนเตรท – ไนโตรเจนโดยเฉลี่ยเกินกว่า 2,100 ppm จะทำให้สัตว์ที่กินพืชนั้นแสดงอาการเป็นพิษได้ ความเป็นพิษของไนเตรทในสัตว์เคี้ยวเอื้อง (Ruminant) ที่เลี้ยงด้วยพืชหลายชนิดที่มีไนเตรทสูงพบว่าสัตว์จำพวกโคกระบือ แสดงอาหารเป็นพิษมากกว่าแพะ และม้า ซึ่งไม่ใช่สัตว์เคี้ยวเอื้อง สัตว์จะแสดงอาการตัวสั่น เดินโซเซ หายใจเร็ว และตายเนื่องจากร่างกายขาดออกซิเจน

ปริมาณต่ำสุดของไนเตรทที่มีผลต่อสัตว์ คือ

สุกร 19-21 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัวสัตว์ 1 กิโลกรัม
แกะ 40-50 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัวสัตว์ 1 กิโลกรัม
โค กระบือ 88-110 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัวสัตว์ 1 กิโลกรัม
3.มิโมซีน (Mimosine)
มิโมซีน ความเป็นพิษของมิโมซีนเกิดขึ้น เนื่องจากจะไปยับยั้งการสร้างฮอร์โมนไทร๊อกซีน (Thyroxine) ทำให้ต่อมไทรอยด์ขยายใหญ่ เกิดเป็นโรคคอหอยพอก พืชอาหารสัตว์ที่พบสารมิโมซีนสูง ได้แก่ กระถิน (Leucaena spp.) ทุกพันธุ์ ไมยราบพื้นเมือง (Mimosa pudica) ในกระถินจะพบมิโมซีนมากในใบและเมล็ด โดยพบในใบอ่อนมากกว่าใบแก่สำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้องสามารถใช้ใบกระถินได้ถึง 50 เปอร์เซนต์ ของอาหารสัตว์สุกร ในอาหารสัตว์ปีกไม่ควรเกิน 5 เปอร์เซนต์ ในอาหารสุกรไม่ควรเกิน 10 เปอร์เซนต์ และอาหารโคไม่ควรเกิน 50 เปอร์เซนต์

อาการของสัตว์มี่เกิดจากสารพิษมิโมซีน ในสัตว์เคี้ยวเอื้องมิโมซีนมีผลทำให้ประสิทธิภาพการย่อยเยื่อใยของแบคทีเรียในกระเพาะรูเมนลดลงทำให้สัตว์เจริญเติบโตช้า ส่วนในสัตว์กระเพาะเดี่ยว เช่น ม้า สุกร เป็ด ไก่ กระต่าย จะมีอาการขนร่วง ทั้งนี้เพราะมิโมซีนไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์บางตัวจึงเป็นสาเหตุทำให้ขนร่วง

4. ออกซาเลท (Oxalate)
ออกซาเลท เป็นสารที่พบในพืชสีเขียวบางชนิดที่อยู่ในระยะที่กำลังเจริญเติบโต และเมื่อพืชเจริญเติบโตเต็มที่ปริมาณออกซาเลทจะลดลง พืชอาหารสัตว์ที่พบสารออกซาเลท ได้แก่ หญ้าซีทาเรีย (Setaria sphacelata) มีออกซาเลทมากถึง 7 เปอร์เซนต์ ซึ่งเป็นพิษต่อโค กระบือ และม้า

อาการของสัตว์ที่เกิดจากสารพิษออกซาเลท ทำให้การสะสมแคลเซียมในร่างกายสัตว์ลดลงสัตว์จึงมีการเจริญเติบโตของสัตว์ช้า กล้ามเนื้ออ่อนเพลีย และอาจเป็นอัมพาตได้ ถ้าสัตว์ยังกินอาหารที่มีออกซาเลทต่อไป แม้ปริมาณน้อยจะทำให้ไตถูกทำลาย และมีผลทำให้เกิดก้อนนิ่วในกระเพาะปัสสาวะได้

ปริมาณออกซาเลทต่ำสุดที่สามารถทำให้เกิดพิษกับสัตว์ คือ

โค กระบือ 685 กรัม (กรดออกซาลิค/วัน)
แกะ 6 กรัม (กรดออกซาลิค/วัน)
ม้า 450 กรัม(กรดออกซาลิค/วัน)
5. แทนนิน (tannin)
แทนนิน เป็นสารที่ทำให้เกิดรสฝาดในพืชอาหารสัตว์บางชนิด ความเป็นพิษของแทนนิน คือ จะยับยั้งการเกิดเอนไซม์ที่ช่วยย่อยอาหารในกระเพาะสัตว์ พืชอาหารสัตว์ที่พบสารแทนนิน ได้แก่ ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วเดสโมเดียม หรือส่วนเปลือกขจองลำต้นพืชยืนต้น เป็นต้น

อาการของสัตว์ที่เกิดจากสารพิษแทนนิน สัตว์ที่กินอาหารที่มีแทนนินเข้าไปปริมาณมากพอที่จะเกิดพิษได้ จะแสดงอาการท้องอืด และมีคอเลสเตอรอล (Cholesteral) ในกระแสเลือดสูงขึ้น เพราะกรดแทนนินที่สะสมในร่างกายจะลดลงและพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้น้อยลง

 

สารพิษที่เกิดจากเชื้อราที่สำคัญสารพิษที่เกิดจากเชื้อราที่สำคัญ
อะฟลาทอกซิน (Aflatoxin)
เป็นสารพิษที่เป็นสารก่อมะเร็ง เกิดจากเชื้อราหลายชนิด แต่มี่พบมาก คือ เชื้อรา Aspergillus flavus โดยเจริญเติบโตได้ดีในที่มีความชื้นสัมพัทธ์สูง (80 – 85 %) และมีอุณหภูมิประมาณ 25 – 40 องศาเซลเซียส วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่พบสารอะฟลาทอกซินมาก ได้แก่ เมล็ดข้าวโพด ถั่วลิสง เมล็ดฝ้าย กากถั่วลิสง ฯลฯ อาการของสัตว์ที่เกิดจากสารอะฟลาทอกซิน สารอะฟลาทอกซินจะยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนในสัตว์ โดยอาการของสัตว์โดยทั่วไปเมื่อได้รับสารนี้ที่ระดับ 0.5 ppm

อาการของสัตว์เบื่ออาหาร ตับพิการ โตช้า แต่ถ้าได้รับสารพิษ 1.0 ppm จะโตช้ามาก ไม่กินอาหาร ตับไตพิการ ถ้าสัตว์ได้รับสารอะฟลาทอกซินมากถึง 2.0 ppm อุจจาระและปัสสาวะเป็นเลือดและตายภายใน 1-3 วัน

T – 2 toxin
วัตถุดิบอาหารที่พบ ได้แก่ เมล็ดธัญญาพืชต่างๆ เชื้อราหลักที่สร้างสารพิษ คือ ฟิวซาเรียม ตริซิงก์ตุม (Fusarium tricinctum) เป็นพิษต่อระบบทางเดินอาหาร

อาการเป็นพิษ สาร T-2 toxin มีผลต่อระบบทางเดินอาหาร ทำให้สัตว์เบื่ออาหาร ท้องร่วง มีอาการตกเลือดในลำไส้