(662) 964 4912-4

(662) 964 4915

เจบีเอฟพาเที่ยวเกาหลีใต้
25/10/2012
สารพิษในอาหารสัตว์
21/11/2012


ข้อมูล : เราทุ่มเทเพื่อจัดการภายใต้มาตรฐานคุณภาพสูง GMP, HACCP และ ISO 9001:2015

ข้อมูล : เราทุ่มเทเพื่อจัดการภายใต้มาตรฐานคุณภาพสูง GMP, HACCP และ ISO 9001:2015

สายพันธุ์สุกร

หมูเป็นสัตว์เลี้ยงลูก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sus domesticus เป็นสัตว์แบบกีบคู่ ลำตัวอ้วน มีจมูกและปากยื่นยาว มีทั้งที่เป็นหมูเลี้ยงและหมูป่า หาอาหารโดยใช้จมูกสูดดมกล่น
หมูที่เลี้ยงในปัจจุบันมีอยู่หลายพันธุ์ รูปร่างลักษณะของหมูเกิดจากการผสมพันธุ์และการคัดเลือกพันธุ์ตามความต้องการของผู้ผสมพันธุ์ ถ้าจัดแบ่งหมูตามรูปร่างลักษณะและคุณภาพของเนื้อหมูแล้ว จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. หมูประเภทมัน หมูประเภทนี้มีลักษณะอ้วนเตี้ย ลำตัวหนาแต่สั้น สะโพกเล็ก มีมันมาก มีเนื้อแดงน้อย หมูประเภทมันมีขนาดเล็ก เจริญเติบโตช้าและกินอาหารเปลือง เมื่อก่อนคนจะนิยมเลี้ยงหมูประเภทนี้กันมาก เหตุผลเพราะเมื่อก่อนยังไม่มีน้ำมันพืขต้องใช้มันหมูเพื่อมาทำน้ำมันหมูในการประกอบอาหาร ปัจจุบันมีการใช้น้ำมันพืชแทน ความนิยมในการเลี้ยงหมูปรเภทนี้จึงลดลงไป ตัวอย่างพันธุ์หมูที่จัดไว้ในหมูประเภทมัน ได้แก่ หมูพันธุ์พื้นเมือง ทั้งที่เป็นพันธุ์ดั้งเดิมของไทย เช่น พันธุ์ราด พันธุ์พวง และ พันธุ์ไหหลำ(ถิ่นดั้งเดิมจากประเทศจีน)

2. หมูประเภทเนื้อ หมูประเภทเนื้อลำตัวจึงยาวกว่าประเภทมัน แต่ไม่ยาวมากนัก มีส่วนไหล่และสะโพกใหญ่อวบ ลำตัวหนาและลึก หลังโค้งพองาม หมูประเภทนี้มีขึ้นจากการผสมพันธุ์ และคัดเลือกพันธุ์ให้มีเนื้อแดงมากขึ้นแต่มันลดลง เจริญเติบโตเร็วและมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อก็ดีขึ้น ตัวอย่างหมูประเภทนี้คือ หมูพันธุ์ดูร็อก พันธุ์แฮมเชียร์ เป็นต้น

3. หมูประเภทเบคอน หมูประเภทนี้จะมีมีขนาดใหญ่ แต่ผอม ลำตัวยาวกว่าหมูประเภทอื่นๆ กระดูกใหญ่ ขายาว สะโพกเล็ก เป็นหมูที่เป็นหนุ่มเป็นสาวช้า หมูประเภทเบคอนมีเนื้อสามชั้นเหมาะสำหรับทำหมูเค็มที่เรียกว่า “เบคอน” ได้แก่ หมูพันธุ์แลนด์เรซ และพันธุ์ลาร์จไวต์ เป็นต้น

สายพันธุ์หมูเพื่อสำหรับทำการเกษตรในประเทศไทย มีดังนี้
สุกรพื้นเมืองในไทย จะเรียกชื่อตามที่อยู่ มีขนาดเล็ก เติบโตช้า หลังแอ่น พุงหย่อน หนังหนา ตะโพกเล็ก อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อต่ำ
1. พันธุ์ไหหลำ เป็นพันธุ์ที่ดีที่สุดในสุกรพันธุ์พื้นเมือง ขนาดหัวใหญ่ปานกลาง คางหย่อน ไหล่กว้าง พุงหย่อน หลังแอ่น ให้ลูกดก เลี้ยงลูกเก่ง ตัวผู้น้ำหนัก ประมาณ 120 ถึง 150 กิโลกรัม ตัวเมียน้ำหนักประมาณ 90 ถึง 110 กิโลกรัม ส่วนใหญ่เลี้ยงในภาคกลางและภาคใต้

2. พันธุ์ควาย ส่วนใหญ่เลี้ยงมากในภาคเหนือ สีคล้ายพันธุ์ไหหลำ หน้าผากมีรอยย่นใบหูใหญ่ปรก ปลายหูเล็ก พุงหย่อน หลังแอ่น ขนาดเล็กกว่าพันธุ์ไหหลำ ตามีวงแหวนสีขาวรอยดวงตา เติบโตช้า

3. หมูกระโดนหรือหมูราด คล้ายกับพันธุ์ Berkshire ตัวสั้น ป้อม ใบหูเล็กตั้งตรง ว่องไว ปราดเปรียว หากินในป่าเก่ง กระดูกเล็ก เนื้อแน่น

4. หมูกระโดนหรือหมูราด ขนแข็ง ผิวหนังหยาบ คางใหญ่ ไหล่กว้าง ตะโพกเล็ก หลังแอ่น พุงหย่อน

สายพันธุ์หมูจากต่างประเทศ จะมีหลากหลายสายพันธุ์ดังนี้

1. พันธุ์ลาร์จไวท์ (Large White) เกิดจาการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ไลเคศเตอร์ กับสุกรพันธุ์ ยอร์คเชียร์ เป็นสุกรดั้งเดิมในเมืองยอร์คเชียร์ ของอังกฤษ มีการนำเข้าไปที่อเมริกา แคนนาดา ในคตวรรษที่ 19 ลักษณะจะมีขนและหนังสีขาวตลอดลำตัว บางตัวอาจจะมีจุดสีดำปรากฏที่ผิวหนังบ้าง จมูกยาว หูตั้ง หัวโต ลำตัวยาว แคบลึก ไหล่โต แต่สะโพกไม่โตเห็นเด่นชัดนัก สามารถเจริญเติบโตเร็ว ลูกดก เลี้ยงลูกเก่ง ตัวผู้โตเต็มที่มีน้ำหนัก 250 ถึง 300 กิโลกรัม ตัวเมียมีน้ำหนัก 150 ถึง 220 กิโลกรัม

2. พันธุ์แลนด์เรซ (Landrace) กำเนิดที่ประเทศเดนมาร์กต้นกำเนิดคือ พันธุ์ลาร์จไวท์กับพันธุ์ดั้งเดิมของเดนมาร์ก จึงตั้งชื่อว่า Damish Landraace ปรับปรุงโดยเน้นให้สุกรมีเนื้อ 3 ชั้นที่สวย ลักษณะ จมูกยาว หัวเรียวเล็ก หูปรกใหญ่ลำตัวยาว จำนวนซี่โครงประมาณ 14 ถึง 17 คู่ หนาลึก ไหล่กว้างหนา ขาสั้น กระดูกเท้าอ่อนกว่าพันธุ์อื่น ให้ลูกดก เลี้ยงลูกเก่ง ให้นมมาก เติบโตเร็ว

3. พันธุ์ดูร็อคเจอร์ซี่ (Doroc Jerse) อยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอเมริกา มีสีแดง บางที่ว่าสีแดงเกิดจากการผสมพันธุ์ ระหว่าง พันธุ์ Tamwoth เป็นลูกผสมของ Jersey Red ผสมกับพันธุ์ Doroc ลักษณะสีแดงล้วน แต่ปัจจุบันมีสีตั้งแต่ น้ำตาลฟางข้าวถึงน้ำตาลแดงเข้ม แข็งแรง บึกบึน เลี้ยงลูกเก่ง หน้าหักเล็กน้อย โคนหูตั้งปลายหูปรกเล็กน้อย หูใหญ่ปานกลาง ให้เนื้อดี เหมาะใช้เป็นพ่อพันธุ์

4. พันธุ์เชสเตอร์ไวท์ (Cherter Whit) เป็นหมูเมืองเชสเตอร์ ผสมจากพันธุ์ Large White กับ Lincollnshire ลักษณะ สุกรขาวแต่อาจมีจุดดำ รูปหน้าเล็กสวยงาม หน้าตรงยาวปานกลาง หูปรก ตาโต ตะโพกอวบนูน ลูกดก เลี้ยงลูกเก่ง แต่มีข้อเสียที่ไม่เหมาะกับการเกษตรไทย คือไม่ทนต่อสภาพแดด

5. พันธุ์เบอร์กเชียร์ (Berckshire) ต้นกำเนิดอยู่ที่เมืองเบอร์กเชียร์ตอนใต้ของอังกฤษ เป็นลูกผสมระหว่าง หมูอังกฤษ จีน และไทย สีดำ มีสีขาวอยู่ 6 แห่ง คือ หน้าผาก ปลายหาง เท้าทั้ง 4 จมูกสั้น หน้าหัก หน้าผากกว้าง หูเล็กตั้งตรงแต่อายุมากหูจะปรกไปด้านหน้าเล็กน้อย คางใหญ่ย้อยมาถึงลำคอเป็นสุกรขนาดกลางตะโพกใหญ่ บึกบึน สามารถใช้เป็นสุกรสายพ่อพันธุ์ ให้เนื้อมาก

6. พันธุ์โปแลนด์ไชน่า (Poland China) ถิ่นกำเนิดอยู่ที่อเมริกาเป็นพันธุ์ที่ผสมมาจากสุกรรัฐเซีย จีน อังกฤษ ชาวโปแลนด์เลี้ยงจึงขึ้นต้นด้วย โปแลนด์ แต่สายพันธุ์มาจากไชน่า(จีน) ลักษณะ สีดำ มีจุดขาว 6 แห่ง 4 แห่งที่เท้า และอีก 2 แห่งที่จมูกและหน้าผาก หน้าผากยาวปานกลาง ลำตัวยาว ลึก หลังกว้าง ให้เนื้อดี หน้าหักเล็กน้อย หูปรก

7. พันธุ์สปอร์เต็ดโปแลนด์ไช่น่า (Spotted Poland China) เกิดจากการผสมระหว่างหมูจีนกับ พันธุ์โปแลนด์ไชน่า จะมีสีดำและขาว สีขาวที่เพิ่มขึ้นโดยไม่ได้รวมสีขาวที่เท้า

8. พันธุ์แฮมเชียร์ (Hamshire) อยู่ตอนใต้ของอังกฤษ มีแถบขาวพาดที่ไหล่ ผสมระหว่างพันธุ์ที่มีสีขาวพาดที่อกกับพันธุ์ของอังกฤษ ลักษณะหน้ายาว หูตั้ง สีดำ ให้ลูกดก แข็งแรง เป็นหมูให้เนื้อ มีความคงทนต่อดินฟ้าอากาศและเชื้อโรค แต่มักเป็นโรคโพรงจมูกอักเสบง่าย

9. พันธุ์พิทเทรน (Pietrain) มาจากเบลเยี่ยม ลำตัวขาว ตะโพกสวย และจะมีกล้ามเนื้อที่ไหล่และตะโพก ที่มีการพัฒนามีลักษณะซากที่ดีกว่าพันธุ์อื่น แต่การเติบโตช้า อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อไม่ดี

10. พันธุ์ เหมยซาน (Meishan) สุกรพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดจาก สาธารณรั ฐประชาชนจีน ถูกนำเข้ามาเลี้ยงในประเทศไทย เมื่อครั้งที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน ทางจีนได้ถวายสุกรพันธุ์นี้มาและได้มอบให้กรมปศุสัตว์ นำมาขยายพันธุ์ มีลักษณะหลังแอ่น ท้องยาน ผิวออกสีดำ ไปทางเทาผิวหนังเหี่ยวย่น ให้ลูกดก เลี้ยงลูกเก่งเลี้ยงง่าย ข้อเสียโตช้า อัตราแลกน้ำหนักสูง เนื้อแดงน้อย มันมาก ซากไม่ดี เหมาะที่นำมาขุนเลี้ยงแบบการค้า