
29/11/2012
GMP-PIC/S; หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตยา
GMP คืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร GMP (Good Manufacturing Practice) หรือ หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิต ถือเป็นส่วนหนึ่งของการประกันคุณภาพเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ได้ผ่านกรรมวิธีการผลิตและผ่านการควบคุมคุณภาพอย่างถูกต้อง ตรงตามมาตรฐานที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ ดังนั้นจากความหมายข้างต้น GMP จึงมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ผลิต ผู้บริโภค และภาครัฐ กล่าวคือ ผู้ผลิตจะมั่นใจในผลิตภัณฑ์ของตนว่าจะมีคุณภาพสม่ำเสมอ สำหรับผู้บริโภคเองก็มีความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์มีอยู่ในตลาดมีคุณภาพและสามารถตรวจสอบได้ และภาครัฐเองก็มีเครื่องมือที่ใช้ในการคุ้มครองผู้บริโภคและตรวจสอบผู้ผลิตได้อีกทางหนึ่งด้วย วิวัฒนาการของ GMP ในประเทศไทย 2522 : เริ่มมีการนำหลักการของ GMP […]

28/11/2012
เทคโนโลยีชีวภาพในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์
อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ในปัจจุบันนี้ได้มีการนำสัตว์ที่มีศักยภาพทางพันธุกรรมสูงเข้ามาเลี้ยงในฟาร์ม มีระบบป้องกันรักษาสุขอนามัยที่ดี มีการใช้ยาปฏิชีวนะและสารเคมีที่เติมลงในอาหารสัตว์ เพื่อทำให้สัตว์สามารถให้ผลผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงสุด แต่ผลของการใช้ยาและสารเคมีนี้ ทำให้เกิดปัญหาสารตกค้างในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผู้บริโภคจึงเรียกร้องให้ลดการใช้ยาปฏิชีวนะและสารเคมีต่างๆลง ตลอดจนเกิดปัญหาการกีดกันทางการค้าที่ต่างประเทศตั้งข้อกำหนดให้ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ที่ส่งออกจากประเทศไทย เช่น เนื้อไก่ และเนื้อกุ้ง ต้องไม่มีสารเคมีและยาปฏิชีวนะตกค้าง ดังนั้นจึงมีการหาแนวทางใหม่ๆที่ทำให้สัตว์สามารถเจริญเติบโตได้ดี และมีประสิทธิภาพในการเจริญเติบโตสูงสุดเท่าเดิม และไม่ก่อให้เกิดสารตกค้างในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ หนึ่งในแนวทางนั้นคือ การใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ (natural animal products) และการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ โดยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพนี้จะช่วยในการปรับปรุงพันธุ์ ช่วยในการเร่งการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ ช่วยเพิ่มการย่อยโภชนะในอาหารเพื่อลดปริมาณโภชนะที่ย่อยไม่ได้ให้น้อยลง เป็นการลดมลภาวะในสิ่งแวดล้อม […]

27/11/2012
พรีไบโอติก
Prebiotics หมายถึง ส่วนของอาหารที่สัตว์ย่อยนำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ แต่จุลินทรีย์ประจำถิ่นในลำไส้ใหญ่ (เชื้อดี) สามารถใช้ประโยชน์ได้ อาหารกลุ่มนี้มักเป็นคาร์โบไฮเดรตสายสั้นหรือโอลิโกแซคคาร์ไรด์ (Oligosaccharides) ที่ประกอบด้วยน้ำตาลจำนวนไม่กี่โมเลกุลซึ่งยึดเกาะกันด้วยพันธะ Glycolyside (เช่น พันธะบีต้า (b)-2,1 ที่สัตว์กระเพาะเดี่ยวย่อยไม่ได้ เป็นต้น) โดยสารจำพวก oligosccharides นี้ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย และเร่งการเจริญเติบโตของสัตว์ไม่เคี้ยวเอื้องมาใช้ทดแทนยาปฏิชีวนะ oligosccharides พวกนี้ไม่ถูกย่อยในกระเพาะและลำไส้เล็ก จึงเข้าสู่ลำไส้ใหญ่แล้วทำปฏิกิริยากับแบคทีเรีย โดยจะเป็นอาหารจำเพาะของแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์และจับกับ carbohydrate receptor […]

26/11/2012
การวางระบบกำจัดหนูในฟาร์ม
“หนู” เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายสกุลในวงศ์ Muridae มีฟันแทะ คือ มีฟันคู่หน้าทั้งบนและล่าง 2 คู่ ที่มีความแข็งแรงและคมเป็นพิเศษมีลักษณะโค้งยื่นสามารถเจริญยาวได้ตลอดชีวิตของมัน จึงมีพฤติกรรมในการกัดแทะเพื่อให้ฟันมีขนาดสั้นพอเหมาะและคมอยู่เสมอ ซึ่งจากพฤติกรรมของมันทำให้นำความเสียหายแก่เศรษฐกิจเป็นจำนวนมหาศาลทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรงที่เด่นชัด คือ การกัดกินพืชผลทางการเกษตร เครื่องอุปโภคและบริโภค นอกจากนี้หนูยังเป็นสัตว์พาหะสำคัญที่นำโรคหลายชนิดมาสู่คนและสัตว์ เช่น โรคฉี่หนู, กาฬโรค, เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังอักเสบ และโรคภูมิแพ้ เป็นต้น ส่วนความเสียหายทางอ้อมมักเกิดจากการกัดแทะของหนูตามสิ่งก่อสร้าง อาคารบ้านเรือน สายไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ […]

25/11/2012
ซีสเทียมีน ไฮโดรคลอไรด์ & การเจริญเติบโตของสัตว์
ผลของซีสเทียมีน ไฮโดรคลอไรด์ต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโตสัตว์ จุดมุ่งหวังสูงสุดของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในเชิงธุรกิจ ก็คือการจัดการสัตว์ เพื่อให้สัตว์สามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิต ได้แก่ เนื้อ นม ไข่ และขน เป็นต้น ได้สูงสุดตามศักยภาพของสายพันธุ์หรือลักษณะทางพันธุกรรม (genetic) ของสัตว์แต่ละชนิด และผลสรุปของจุดมุ่งหวังนี้ก็คือ เพื่อให้ได้ผลกำไรสูงสุดนั้นเอง ดังนั้นจึงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า สารกระตุ้นประสิทธิภาพการผลิต (production performance stimulants) กำลังเป็นที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบันอย่างไรก็ตาม การเจริญเติบโตของสัตว์นั้นก็ถูกควบคุมด้วยหลายปัจจัย โดยปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญคือการควบคุมจากโกรทฮอร์โมน (growth hormone; […]

24/11/2012
การควบคุมหนูทางการเกษตร
“หนู” สัตว์ฟันแทะชนิดนี้เกษตรกรทุกท่านคงทราบกันดีว่าเป็นศัตรูพืชสำคัญที่สุดชนิดหนึ่งและเป็นศัตรูที่ร้ายกาจมากกว่าโรคและ แมลง เนื่องจากโรคและแมลงเมื่อเข้าทำลายพืชจะเริ่มเห็นอาการหรือร่องรอยก่อนเพียงเล็กน้อย และสามารถทำการแก้ไขได้ทันท่วงที แต่การทำลายพืชจากหนูส่วนใหญ่ผลผลิตจะเกิดการเสียหายโดยทันที ไม่ทันได้ป้องกันหรือแก้ไข เช่น ในนาข้าว ส่วนใหญ่หนูจะเข้ามาทำลายข้าวในระยะที่ข้าวตั้งท้องหรือออกรวง ถ้าเป็นหนูตัวใหญ่ เช่น หนูพุกหรือหนูท้องขาว จะกัดโคนต้นข้าวเป็นลักษณะรูปปากฉลาม ให้ต้นข้าวล้มแล้วก็กินเมล็ดข้าว ส่วนหนูตัวเล็ก เช่น หนูหริ่ง ก็จะปีนต้นข้าวเพื่อขึ้นไปกัดกินเมล็ดข้าวหรือคอรวงข้าวทำให้เกิดความเสียหาย ในสวนปาล์มก็เช่นเดียวกัน เกษตรกรก็จะพบว่าหนูมักเข้ามากัดกินต้นกล้าและทะลายปาล์มทำให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตเป็นอย่างมาก ซึ่งระยะที่หนูเข้าทำลายนี้เกษตรกรไม่อาจทำการแก้ไขได้ทันถ้าไม่มีการเตรียมความพร้อมและป้องกันมาก่อน ฉบับนี้จะกล่าวถึงวิธีการกำจัดหนูสำหรับเกษตรกรทุกท่านไปประยุกต์ใช้ หนูเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างฉลาด สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี มีการแพร่พันธุ์ที่รวดเร็ว […]