
05/12/2012
สารต้านอนุมูลอิสระ
เอนไซม์และสารเคมีต่างๆ ที่ร่างกายสัตว์สร้างขึ้นนั้นมีปริมาณจำกัด ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยสารต้านอนุมูลอิสระจากแหล่งภายนอกร่างกาย เช่น อาหาร เพื่อรักษาสมดุลต่างๆ ในร่างกายให้ดำเนินต่อไปได้อย่างปกติ ด้วยกลไกคือ quenching oxygen reaction หรือปฏิกิริยาที่ลดพลังงานอิเล็คตรอนของออกซิเจนทำให้ไม่ไวต่อการเกิดปฏิกิริยาจับกับสารอื่น เป็นการป้องกันที่ต้นเหตุ และ chain breaking reaction หรือปฏิกิริยาที่เกิดหลังจากมี ROS แล้ว เป็นการตัดปฏิกิริยาที่เกิดต่อเนื่องของ ROS ไม่ให้มีมากขึ้น (นัยนา, 2546) สารต้านอนุมูลอิสระ […]

04/12/2012
การกำจัดหนู (RODENT CONTROL)
หนูเป็นสัตว์ค่อนข้างฉลาด และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี ทั้งยังแพร่พันธุ์ได้รวดเร็ว การที่จะหาทางป้องกันและกำจัดให้ได้ผลนั้นต้องมีวิธีการที่แน่นอน ถูกต้องตามหลักวิชาการ และต้องปราบอย่างต่อเนื่องจึงจะสามารถลดประชากรของหนูลงได้ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. สำรวจการแพร่ระบาดของหนู มีความสำคัญและจำเป็นต่อการป้องกันและกำจัดหนู เพราะช่วยให้ทราบว่ามีหนูอยู่บริเวณนั้นมากน้อยเพียงใด ร่องรอยของหนูที่สามารถสำรวจได้ ได้แก่ รอยกัดแทะ โพรงหรือรูหนู รอยทางเดิน มูลหนู รอยเมือก กลิ่นสาบ เป็นต้น 2. ลดที่อยู่อาศัยและป้องกันหนู การกำจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อหนู เพื่อลดแหล่งอาหาร ที่อยู่อาศัยของหนู และป้องกันหนูจากภายนอกเข้ามาภายในบริเวณอาคาร […]

03/12/2012
หนู (RATS AND MICE)
หนู เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายสกุลในวงศ์ Muridae มีฟันแทะ คือ มีฟันคู่หน้าทั้งบนและล่าง 2 คู่ ที่มีความแข็งแรงเป็นพิเศษและคมมีลักษณะโค้งยื่น เพื่อใช้สำหรับกัดหรือแทะสิ่งต่างๆ เพื่อให้ฟันหน้าซึ่งสามารถเจริญยาวได้ตลอดชีวิตของมัน หนูเป็นศัตรูที่สำคัญของมนุษย์ นำความเสียหายแก่เศรษฐกิจเป็นจำนวนมหาศาลทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรงที่เด่นชัด คือ การกัดกินพืชผลทางการเกษตร เครื่องอุปโภคและบริโภค นอกจากนี้หนูยังเป็นสัตว์พาหะสำคัญที่นำโรคหลายชนิดมาสู่คนและสัตว์เลี้ยง เช่น โรคฉี่หนู, กาฬโรค, เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังอักเสบ และโรคภูมิแพ้ เป็นต้น ส่วนความเสียหารทางอ้อมมักเกิดจากการกัดแทะของหนูตามสิ่งก่อสร้าง อาคารบ้านเรือน […]

02/12/2012
โรคไข้หวัดสุกร (H1N1)
โรคไข้หวัดสุกร ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจชนิดเฉียบพลันในสุกรทุกช่วงอายุ มีผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร โดยสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในสุกร คือไวรัสไข้หวัดใหญ่ไทป์ A ในตระกูล Orthomyxoviridae ซึ่งไวรัสชนิด RNA สายเดี่ยว มีเปลือกหุ้ม มีสารพันธุกรรมเป็นท่อนสั้นๆ จำนวน 8 ท่อน ไวรัสไข้หวัดใหญ่ประกอบด้วยH1-16 และ N1-9 ในสุกรเฉพาะ H1N1,H3N2 และ H1N2 เนื่องจากสารพันธุกรรมเป็นชนิด RNA และมี […]

01/12/2012
สารลดแรงตึงผิวในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ
สารลดแรงตึงผิว (Surfactant) สารลดแรงตึงผิว คือสารที่มีคุณสมบัติในการรวมโมเลกุลให้มีน้ำหนักมากขึ้น เพื่อลดแรงเกาะหรือแรงตึงผิว (surface tension) ระหว่างกันของสสารนั้นๆ มีการนำไปใช้ประโยชน์ในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ เช่นผลิตภัณฑ์น้ำทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ สารลดแรงตึงผิวจัดเป็นสารพวก amphiphilic molecules ซึ่งในโมเลกุลประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ภาพที่ 1 โครงสร้างของสารลดแรงตึงผิว 1. ส่วนหัว เป็นส่วนที่มีขั้ว มีคุณสมบัติชอบน้ำ (hydrophilic head […]

30/11/2012
การลดปริมาณอะฟลาทอกซินในวัตถุดิบอาหารสัตว์
สารพิษอะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) เป็นกลุ่มของสารอินทรีย์เคมีพวกบิส-ฟูราโนคิวมาริน (bis-furanocumarin) เป็นกลุ่มสารพิษที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่สร้างจากเส้นใยของเชื้อรา (Mycotoxins) ซึ่งได้จากเชื้อ Aspergillus flavus และ Aspergillus paraciticus ซึ่งเชื้อราสองชนิดนี้สร้างสารพิษในภาวะที่อาหารมีความชื้นสูง มีค่าวอเตอร์แอคทิวิตี้ ( water activity ) มากกว่า 0.93 และอุณหภูมิค่อนข้างสูง (25-30 OC ) แหล่งที่พบ อะฟลาทอกซินพบได้บ่อยที่สุดในวัตถุดิบที่นำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ซึ่งเป็นเมล็ดธัญพืชที่มีพลังงานสะสมอยู่มาก เช่น ถั่วเมล็ดแห้ง และ […]