
04/04/2024
กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์
กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ก่อนที่จะมีผลิตภัณฑ์หนึ่งชิ้นออกสู่ท้องตลาดส่งถึงมือผู้บริโภคนั้น นอกจากมาตรฐานคุณภาพสำหรับควบคุมการผลิตการควบคุมคุณภาพ และการขนส่ง จะมีความสำคัญต่อคุณภาพของสินค้าแล้วกระบวนการสำคัญอีกกระบวนการก็คือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการคัดเลือกและกำหนดกระบวนการต่างๆโดยมุ่งเน้นประเด็นสำคัญในเรื่องความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และคุณภาพของผลิตภัณฑ์ตลอดจนการกำหนดวิธีการควบคุมกระบวนการต่างๆ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ รายละเอียดของกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทอาจจะมีความแตกต่างกันเล็กน้อยขึ้นกับมาตรฐานและวัตถุประสงค์ของการใช้งาน แต่ทั้งนี้กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยภาพรวม สามารถแบ่งคร่าวๆได้เป็น 7 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ขั้นตอนการศึกษาก่อนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ขั้นตอนแรกก่อนเริ่มต้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำเป็นที่จะต้องพิจารณาให้ครอบคลุมทั้งมิติด้านคุณภาพ และประสิทธิภาพโดยจะต้องทำการค้นคว้าและรวบรวมองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลทางเคมีฟิสิกส์ของสารสำคัญหรือสารที่เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์นั้น ที่อาจมีผลต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์ ข้อมูลที่เชื่อมโยงกับประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ เช่น […]

27/01/2014
บริษัท เจบีเอฟ จำกัด ตอกย้ำสร้างความเชื่อมั่นต่อคุณภาพของสินค้าอาหารสัตว์ ภายใต้ระบบ HACCP
บริษัท เจบีเอฟ จำกัด ตอกย้ำสร้างความเชื่อมั่นต่อคุณภาพของสินค้าอาหารสัตว์ ภายใต้ระบบ HACCP เราคุ้นเคยกับคำว่า ระบบ HACCP คือ ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมเพื่อควบคุมอันตราย “ระบบ HACCP ที่กล่าวถึงนั้นคืออะไร มีความสำคัญอย่างไรต่อผู้ประกอบธุรกิจอาหารสัตว์ และประโยชน์ที่ได้รับ จากการใช้ระบบนี้คืออะไร” HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Point)คือระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมเพื่อควบคุมอันตราย ณ จุดหรือขั้นตอนการผลิตที่อันตรายเหล่านั้นมีโอกาสเกิดขึ้น […]

12/09/2013
Escherichia Coli ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร
อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะการเลี้ยงสุกร ผลผลิตที่เป็นชี้วัดประสิทธิภาพการผลิตของฟาร์ม คือจำนวนลูกต่อแม่สุกรต่อปี ผู้เลี้ยงต้องเอาใจใส่และมีการจัดการที่ดี เนื่องจากลูกสุกรแรกเกิดระบบภูมิคุ้มกันและระบบทางเดินอาหารยังพัฒนาไม่เต็มที่ ดังนั้นการจัดการเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งของฟาร์มเพื่อลดความสูญเสีย โรคที่เป็นปัญหาในลูกสุกรดูดนม คือ อาการท้องเสีย ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ 1. ท้องเสียจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้อ อี.โคไล (Colibacilosis), เชื้อคลอสทีเดียม (Clostridial diarrhea) 2. ท้องเสียจากเชื้อโปรโตชัว เช่น โรคบิดมีตัว (Coccidiosis) 3. […]

06/08/2013
จีเอ็มพี(แนวทางปฏิบัติที่ดีในการผลิต)
GMP (Good Manufacturing Practice) คืออะไร GMP (Good Manufacturing Practice) คือ หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร จัดทำขึ้นโดยหน่วยงานมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ หรือ CODEX GMP ซึ่งเป็นเกณฑ์หรือข้อกำหนดพื้นฐานที่จำเป็นในการผลิตและควบคุม เพื่อให้ผู้ผลิตปฏิบัติตามและทำให้สามารถผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัย โดยเน้นการป้องกันและขจัดความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดอันตรายหรือไม่ความปลอดภัยต่อผู้บริโภค มีหลักการเนื้อหาครอบคลุม 7 ประการ ดังนี้ 1.สถานที่ตั้งและอาคารผลิต 2.เครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต 3.การควบคุมกระบวน การผลิต 4.ระบบการจัดการหลังจากที่พบว่าสินค้า […]

04/01/2013
เมทไธโอนีนสังเคราะห์สำหรับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์
เมทไธโอนีน (Methionine) จัดเป็นกรดอะมิโนจํากัด (Limiting amino acid) อันดับที่ 1 และอันดับที่ 3 ในอาหารสัตว์ปีกและสุกร ตามลำดับ (NRC, 1984) โดยทั่วไปวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เป็นแหล่งของโปรตีนคุณภาพดี คือโปรตีนจากสัตว์ แต่เนื่องจากโปรตีนจากสัตว์นี้มักมีความผันแปรทางด้านคุณภาพและราคา จึงต้องมีการทดแทนโดยการใช้โปรตีนจากพืช ได้แก่ กากถั่วเหลือง เป็นต้น ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพสูงมีกรดอะมิโนที่จําเป็นหลายชนิด แต่อย่างไรก็ตามในกากถั่วเหลืองนั้นก็ยังมีปริมาณกรดอะมิโนเมทไธโอนีนที่ต่ํา และเพื่อให้ไก่ได้รับเมทไธโอนีนเพียงพอต่อความต้องการ จึงจำเป็นต้องมีการเสริมเมทไธโอนีนสังเคราะห์ในอาหารสัตว์ โดยที่จุดมุ่งหมายของการเสริมแหล่งเมทไธโอนีน […]

28/12/2012
อนุมูลอิสระและสภาวะความเครียดออกซิเดชัน
กระบวนการเผาผลาญอาหารหรือกระบวนการเมแทบอลิซึม (metabolism) มักเกิดโปร-ออกซิเดนท์ (prooxidant) ขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งเป็นผลพลอยได้ของปฏิกิริยาเคมีและกิจกรรมของเซลล์ในร่างกายที่ต้องดำเนินตามปกติ โปรออกซิแดนท์ที่สำคัญคือ สารประกอบที่มีออกซิเจนในโมเลกุล เรียกว่า reactive oxygen species (ROS) ซึ่งเกิดขึ้นในกระบวนการขนส่งอิเลคตรอนในระบบหายใจ เกิดออกซิเจนที่มีประจุลบเป็นผลผลิตสุดท้าย ในระบบสร้างภูมิคุ้มกันโรคเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าร่างกาย เซลล์เม็ดเลือดขาวจะจับกินและออกซิไดส์ออกซิเจนให้ได้ออกซิเจนที่มีประจุลบ เพื่อใช้ในการสร้างสารที่มีฤทธิ์ทำลายสิ่งแปลกปลอม และ ROS ที่เกิดขึ้นในกลไกการคลายตัวของกล้ามเนื้อเรียบ (นัยนา, 2546; อนันต์, 2551) สาร […]