(662) 964 4912-4

(662) 964 4915

มหาวิทยาลัยมหาสารคามเยี่ยมชมโรงงาน
20/10/2013
คณะของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วมกับมหาวิทยาลัยในกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม
08/05/2014


ข้อมูล : เราทุ่มเทเพื่อจัดการภายใต้มาตรฐานคุณภาพสูง GMP, HACCP และ ISO 9001:2015

ข้อมูล : เราทุ่มเทเพื่อจัดการภายใต้มาตรฐานคุณภาพสูง GMP, HACCP และ ISO 9001:2015

บริษัท เจบีเอฟ จำกัด ตอกย้ำสร้างความเชื่อมั่นต่อคุณภาพของสินค้าอาหารสัตว์ ภายใต้ระบบ HACCP

บริษัท เจบีเอฟ จำกัด ตอกย้ำสร้างความเชื่อมั่นต่อคุณภาพของสินค้าอาหารสัตว์ ภายใต้ระบบ HACCP
เราคุ้นเคยกับคำว่า ระบบ HACCP คือ ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมเพื่อควบคุมอันตราย
“ระบบ HACCP ที่กล่าวถึงนั้นคืออะไร มีความสำคัญอย่างไรต่อผู้ประกอบธุรกิจอาหารสัตว์ และประโยชน์ที่ได้รับ จากการใช้ระบบนี้คืออะไร”
HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Point)คือระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมเพื่อควบคุมอันตราย ณ จุดหรือขั้นตอนการผลิตที่อันตรายเหล่านั้นมีโอกาสเกิดขึ้น ซึ่งสามารถประกันความปลอดภัยของอาหารที่ยอมรับกันว่าสามารถป้องกันอันตรายและสิ่งปนเปื้อนได้ดีกว่าการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย ความสำคัญของระบบให้ความสำคัญตั้งแต่วัตถุดิบ กระบวนการผลิต การขนส่ง จนถึงผู้บริโภค นอกจากนั้นระบบ HACCP ยังมีศักยภาพในการระบุบริเวณหรือขั้นตอนการผลิตที่มีโอกาสเกิดความผิดพลาดขึ้นได้ แม้ว่าจุดหรือในขั้นตอนดังกล่าวจะยังไม่เคยเกิดอันตรายมาก่อนซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
ความสัมพันธ์ระหว่างหลักเกณฑ์และวิธรการที่ดีในการผลิตอาหาร (GMP ตาม Codex) และการจัดระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร (HACCP)
ระบบ HACCP และระบบ GMP มีความสัมพันธ์กันอย่างมาก โดยระบบ GMP เป็นระบบประกันคุณภาพขั้นพื้นฐานสำหรับพัฒนาเข้าสู่ระบบ HACCP ซึ่งระบบนี้จะเน้นในเรื่องของการจัดการด้านสุขลักษณะของอาคาร สถานที่การผลิต เครื่องจักรอุปกรณ์ วัตถุดิบ และควบคุมกระบวนการผลิต สำหรับระบบ HACCP จะมุ่งเน้นการควบคุมกระบวนการผลิตโดยเฉพาะขั้นตอนที่ได้รับการวิเคราะห์แล้วว่าเป็นจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (Determine the Critical Control Point; CCP)
ดังนั้นก่อนที่จะประยุกต์ใช้ระบบ HACCP โรงงานต้องมีความพร้อมในเรื่องของโปรแกรมพื้นฐานหรือ GMP รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของอาหารที่ผลิตประเภทนั้นๆ โดยขอบข่ายของอาหารสัตว์ที่ผลิตภายใต้บริษัท เจบีเอฟ จำกัด เรียกได้ว่าครอบคลุมทั้งอาหารสัตว์บกและสัตว์น้ำ ได้แก่
  • อาหารสัตว์สำเร็จรูปชนิดเม็ด สำหรับสุกร ไก่เนื้อ ไก่ไข่ ไก่พื้นบ้าน ไก่ชน
  • เป็ดเนื้อ เป็ดไข่
  • โคเนื้อ โคนม
  • ปลาดุก ปลานิล ปลากินพืช ปลากินเนื้อ และกบ
หลักการของระบบ HACCP ประกอบด้วยหลักการสำคัญ 7 ประการ ดังนี้
อันตราย (Hazards) คือ สิ่งที่มีลักษณะทางชีวภาพ เคมี และกายภาพ ที่มีอยู่ในอาหารและก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ

จุดวิกฤติหรืออันตรายที่เกิดขึ้นกับอาหาร มาจาก 3 สาเหตุ ได้แก่

1.อันตรายทางชีวภาพ
อันตรายทางชีวภาพ หมายถึง อันตรายที่เกิดจากสิ่งที่มีชีวิตขนาดเล็ก ได้แก่ จุลินทรีย์ ไวรัส เชื้อรา พยาธิต่างๆ โดยทั่วไปสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเหล่านี้เกี่ยวข้องกับมนุษย์และวัตถุดิบต่างๆ ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ หลายชนิดพบอยู่ตามธรรมชาติ ระดับอันตรายจากจุลินทรีย์บางชนิดอาจถึงแก่ชีวิตได้ อันตรายจากเชื้อจุลินทรีย์ แบ่งเป็น 2 ประเภท
1) Infection เกิดขึ้นโดยการบริโภคอาหารที่มีการปนเปื้อนโดยเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค เช่น เชื้อรา Salmonella spp.หรือ Listerria spp.
2) Intoxication เกิดจากการบริโภคสารพิษที่เชื้อจุลินทรีย์ซึ่งปนเปื้อนอยู่ในอาหารนั้น สร้างขึ้น เช่น สารพิษของเชื้อ Staphylococcus spp.หรือ Clostridium botulinum ซึ่งห้องปฏิบัติการของเจบีเอฟ จะทำการตรวจสอบหาปริมาณจุลินทรีย์ในอาหารสำเร็จรูปในทุก Lot ของการผลิต ซึ่งต้องตรวจไม่พบเชื้อ Salmonella ส่วนเชื้อ ยีสต์ เชื้อรา และ Enterobacterium พบได้ไม่เกิน 8×106

2.อันตรายจากสารเคมี
อันตรายจากสารเคมี อาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือเจตนาเติมในระหว่างการผลิต ได้แก่ วัตถุเจือปนในอาหาร สารปนเปื้อนประเภทโลหะหนัก สารเคมีกำจัดศัตรูพืช น้ำมันหล่อลื่น หากได้รับสารพิษเหล่านี้ในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดพิษภัย ร้ายแรงในทันทีหรืออาจเป็นพิษสะสมในกรณีได้รับปริมาณน้อย โดยทั่วไปจะพบการปนเปื้อนมาจาก 3 แหล่งคือ วัตถุดิบ, ในระหว่างกระบวนการผลิตหรือสิ่งผิดปกติที่ปนเปื้อนในระหว่างผลิต และวัสดุหีบห่อ

3.อันตรายทางกายภาพ
อันตรายทางกายภาพ ได้แก่ การปนเปื้อนจากสิ่งแปลกปลอมต่างๆ อาทิ เศษแก้ว เศษโลหะ เศษไม้ ซึ่งจะทำให้เกิดการบาดเจ็บแก่ผู้บริโภคได้

การปนเปื้อนเกิดขึ้นในวงจรอาหารตั้งแต่การเก็บเกี่ยวจนสินค้าถึงมือลูกค้า โดยการเกิดจากการปฏิบัติงานที่ไม่ถูกต้อง อันตรายจากสิ่งแปลกปลอมทางกายภาพ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
1) สารที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น ชิ้นส่วนจากพืชและเมล็ดพันธุ์ ขนสัตว์ เส้นผม คราบเชื้อรา และแมลง เป็นต้น
2) สิ่งแปลกปลอม เช่น เศษแก้ว โลหะ พลาสติก เครื่องประดับต่างๆ รวมทั้งก้นบุหรี่ เป็นต้น

การบำรุงรักษาเชิงป้องกันอันตรายและอาหารปลอดภัยของโรงงานเจบีเอฟ
  • กลไกที่เคลื่อนไหวและอาจก่อให้เกิดประกายไฟ เช่น กระพ้อ เครื่อง โม่ เครื่องดักฝุ่น ลูกปืน และระบบหล่อลื่น จะตรวจสอบ ติดตาม และซ่อมบำรุง เพื่อให้เครื่องจักร หรืออุปกรณ์ต่างๆ ในกระบวนการผลิต อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ เพราะประกายไฟอาจเกิดขึ้นได้จากส่วนของเครื่องจักรที่เคลื่อนไหวปะทะกับสิ่งแปลกปลอม
  • เครื่องจักรที่มีกลไกการเคลื่อนไหวช้า เช่น ระบบดึงวัตถุดิบอาหาร จะซ่อมบำรุงและรักษา เดือนละ 1 ครั้ง
  • เครื่องจักรที่มีกลไกการเคลื่อนไหวด้วยความเร็วสูง เช่น พัดลม ลูกปืน จะซ่อมบำรุงและรักษา สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
  • มอเตอร์ที่ใช้ในโรงงาน เป็นมอเตอร์ที่ได้รับมาตรฐาน US NEC Class II ซึ่งเป็นมอเตอร์กันระเบิด ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นภายในมอเตอร์จะไม่ทำให้ฝุ่นติดไฟ
  • วัตถุดิบอาหารสัตว์ จะถูกนำมาร่อน เพื่อคัดแยกสิ่งแปลกปลอม เช่น หิน เชือก พลาสติก และวัสดุที่ไม่ใช่โลหะ ส่วนวัสดุที่เป็นโลหะจะถูกดักจับโดยแม่เหล็ก นอกจากนี้แม่เหล็กยังถูกติดอยู่ที่เครื่องโม่ และเครื่องอัดเม็ด เพื่อป้องกันโลหะ สร้างความเสียหายต่อเครื่องจักร

ประโยชน์ของระบบ HACCP คืออะไร

ประโยชน์ต่อผู้ประกอบธุรกิจอาหารสัตว์
  • ระบบ HACCP มีการกำหนดในมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ว่าสามารถใช้สร้างความมั่นใจในการผลิตอาหารให้ปลอดภัย
  • ระบบ HACCP เป็นระบบที่สามารถใช้ควบคุมอันตรายจากจุลินทรีย์ สารเคมี และสิ่งแปลกปลอมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • สามารถยกระดับมาตรฐานการผลิตให้กับโรงงาน โดยมีการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยของอาหารอย่างมีระบบ
  • ลดการสูญเสียของผลิตภัณฑ์ สามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • สร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร พนักงานมีความภาคภูมิใจในองค์กร
  • สร้างมาตรฐาน สร้างระบบที่ดีในการปฏิบัติ
  • เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ประโยชน์ต่อผู้ใช้สินค้าอาหารสัตว์ของโรงงานเจบีเอฟ

ผู้ซื้อสินค้าอาหารสัตว์มั่นใจในตัวสินค้า ว่าได้คุณภาพตรงตามมาตรฐานอาหารสัตว์ และมีความปลอดภัย คุณภาพเม็ดอาหาร ไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะและยากันบิดในทุกสูตรของอาหารแต่ก็จำเป็นต้องล้างระบบการผลิต เพื่อผลิตอาหารให้มีสี และลักษณะของเม็ดที่สม่ำเสมอ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ดึงดูดลูกค้า